28
            อาหารคือ ยาบำบัดรักษาสุขภาพ การควบคุมอาหาร คือ การเรียนรู้ประเภทอาหารและกำหนดมื้ออาหารให้เหมาะสมต่อสุขภาพ ควรกำหนดมื้ออาหารแต่ละมื้อห่างกันไม่เกิน 5 ชั่วโมง ถ้าปล่อยให้หิวจะทำให้รับประทานมากขึ้นในมื้อถัดไป และถ้ารับประทานไม่เป็นเวลาร่างกายจะสร้างระบบป้องกันทำให้การเผาผลาญอาหารน้อยลง ร่างกายจะกักเก็บไขมันไว้ จึงดูเหมือน “ยิ่งอด ยิ่งอ้วน” และอาหารมื้อเย็นควรห่างจากเวลานอน 4 ชั่วโมงขึ้นไป
            เทคนิคการรับประทานให้อิ่มอร่อย คือ เคี้ยวอาหารให้ละเอียดอย่างน้อยคำละ 20 ครั้ง จึงกลืน จะช่วยให้ปุ่มรับรสที่ลิ้นซึมซับรสชาติอาหารและส่งข้อมูลไปที่สมองเพื่อเก็บความพึงพอใจในรสชาติอาหารและสั่งให้อิ่มเมื่อจุดความพอดี ขณะเดียวกันอาหารที่เคี้ยวละเอียด เมื่อลงสู้กระเพาะอาหารจะช่วยให้กระเพาะบดย่อยอาหารได้เร็วดูดซึมได้ดีคุณจะรู้สึกสบายท้องไม่อึดอัด
           อาหารที่เหมาะสมกับผู้เป็นเบาหวานที่มีไขมันสูง หรือต้องการลดน้ำหนัก พบว่าเป็นอาหารจากธรรมชาติ ผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุด ใช้น้ำมันน้อยที่สุด คือ อาหารเพื่อสุขภาพที่แท้จริง เช่น แกงจืด แกงเลี้ยง แกงส้ม ต้มยำปลาทู แกงป่า ต้มโคล้ง  นึ่ง ย่าง ยำ ผักต่างๆ มีเส้นใยอาหารมากมีประโยชน์ทำให้อิ่มท้องนานและลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดี ระบบภายในกายสะอาดส่งผลให้ผิวพรรณสดใส
29
29
3     32 33343536
1.1 น้ำนมรสหวาน เช่น นมปรุงแต่งรสต่างๆ ไมโล โอวัลติน โยเกิร์ย รสผลไม้ นมข้นหวาน ยาคูลท์
1.2 น้ำอัดลมทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มพลังงานต่ำที่โฆษณาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
1.3 ของขบเคี้ยวทอดกรอบ เช่น ปาท๋องโก๋ กล้วยแขกทอด ข้าวเม่าทอดอาหารชุบแป้งทอดต่างๆ ถั่วลิสงทอด ข้าวเกรียบทอด เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบ
1.4 ขนมทุกชนิด เพราะปรุงจากแป้ง น้ำตาล ไข่ เนยสด มาการีน กะทิ มะพร้าว ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เค้ก คุกกี้ สาคูไส้หมู ขนมชั้น ข้าวเกรียบปากหม้อ ถั่วแปบ เป็นต้น ขนมราดหน้าด้วยกระทิ เช่น เต้าส่วนปลากริมไข่เต่า ครองแครง สาคูเผือก-มัน ข้าวเหนียวถั่วดำ ข้าวเหนียวถั่วดำ ข้าวเหนียวเปียก กล้วยบวชชี แกงบวชฟักทอง เผือก มัน ไอศกรีม ขนมใส่น้ำแข็งราดหน้าเชื่อม
1.5 ผลไม้หวาดจัด เช่น น้อยหน่า ละมุด มังคุด ลำใย อ้อย มะม่วง ทุเรียน ขนุน เป็นต้น
1.6 ผลไม้เชื่อ-ดอง-กวน เช่น มะม่วงกวน กล้วยเชื้อม มะขามแช่อิ่ม แยมผลไม้ต่างๆ เยลลี่
1.7 น้ำผลไม้ เช่น น้ำส้มคั่น น้ำมะเขือเทศ น้ำอ้อย น้ำผึ้ง น้ำตาลสด น้ำกระเจี๊ยบ น้ำลำไย น้ำมะพร้าวอ่อน
1.8 ผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง เช่น เงาะ ลิ้นจี่ สับปะรด ลำไย แห้ว
1.9 ผลไม้ตากแห้ง เช่น กล้วยตาก ลูกเกด ลูกพลับแห้ง อินทผาลัมแห้ง
1.10 อาหารหมักดอง อาหารตากเค็ม อาหารรสเค็มจัดบรรจุกระป๋องหรือถุง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี่ ปลาร้า ผักดองมันฝรั่งอบกรอบถั่วเคลือบแป้งกะทิอบ

 

30
3738394042
2.1 ประเภทนม เช่น น้ำนมสดรสจืด (Fresh milk) น้ำนมพร่องมันเนย (Low Fat milk) น้ำนมผสมคืนรูปชนิดจืด (ใช้นมผงผสมน้ำให้คืนรูปเป็นน้ำนม) น้ำนมสดระเหย (นมข้นจืดระเหยเอาน้ำออกบางส่วน) นมผงธรรมดา นมผงพร่องไขมันเนย นมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง
2.2 ผลไม้ เช้น กล้วย ส้ม สับปะรด มะละกอ แตงโม เงาะ ผลไม้เหล่านี้ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ควรรับประทานตามปริมาณที่กำหนดในแต่ละมื้อ
2.3 อาหารจาก ข้ว แป้ง น้ำตาล เช่น ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมปัง ขนมจีน มักะโรนี เผือก มัน ข้าวโพด มันฝรั่ง วุ้นเส้น
2.4 เป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก ในรายการที่ไม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงควรรับประทานไข่สัปดาห์ละ 3 ฟองส่วนผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงอาจรับประทานไข่ขาวได้ทุกวัน ชนิดของไข่ เช่น ไข่ไก่ ไข่ไก่
2.5 ไขมัน เช่น
1) ไขมันจากสัตว์มีสารทำให้ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดโรคหลอดเเลือดแข็งโรคหัวใจขาดเลือด ชนิดของไขมัน ได้แก่ น้ำมันหมู น้ำมันไก่ น้ำมันวัว มันกุ้ง ครียม เนย เนื้อสัตร์ของติดมัน เครื่องในสัตว์ หอยนางรม เป็นต้น
2) ควรใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันฝ้าย น้ำมันรำ น้ำมันดังกลาวมีกรดไลโนเลอิค เป็นกรดไขมันช่วยลดไขมันในเลือดได้
3) ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว เช่น ครีมเทียมผสมกาแฟ
2.6 น้ำตาล การปรุงอาหารควรหลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล เครื่องดื่มควรโรยน้ำตาลเพียงเล็กน้อย ไม่ให้รสหวานจัดตลอดจนสารที่ให้ความหวานทุกชนิด เช่น น้ำผึ่ง น้ำตาลกรวด น้ำตาลทรายขาว-แดง น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำตาลผลไม้บรรจุกล่อง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงรวดเร็ว
2.7 เกลือ อาหารที่ปรุงด้วยเกลือ หรืออาหารรสเค็มจัดจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือมาก เช่น นำปลา ซีอิ๊ว ซอสต่างๆน้ำมันหอย ปลาเค็ม เต้าเจี้ยว กะปิ
2.8 อาหารสำเร็จรูป ต้องจำกัดปริมาณเช่นเดียวกับอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลชนิดอื่นๆ เช่น น้ำอัดลมไดเอทชนิดกระป๋อง คุกกี้ไดเอท (บางชนิดมีเส้นใยอาหารสูง แต่ไม่เหมาะกับโรคเบาหวาน)

 

31

 

454379
3.1 ผักใบเขียวเกือบทุกชนิด และผักใบขาว ผักกลุ่มนี้ ให้สารประเภท แป้ง น้ำตาลน้อย ได้แก่
      3.1.1 ผักกาด เช่น ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียว หัวผักกาดสด
      3.1.2 ผักใบเขียว เช่น ผักกวางตุ้ง ผักตำลึง ผักบุ้งจีน คะน้า ผักตั้งโอ๋ สายบัว
3.2 ผักลักษณะเป็นผล, หัว มีสารประเภท แป้ง น้ำตาล 5 กรัม และโปรตีน 2 กรัม ในปริมาณอาหารสุก 100 กรัม
      3.2.1 ผักตระกูลถั่ว เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วงอกหัวโต ถั่วแขก ถั่วลันเตา
      3.2.2 เช่น กระหล่ำดอก กระหล่ำปม ดอกหอม ดอกขจร ดอกแค ดอกกุ๋ย ช่ายขาว ขิง แครอท หัวปลี หัวหอมเล็ก หัวหอมใหญ่ หัวบีท หน่อไม้ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดโครน
หน่อไม้ฝรั่ง ต้นกระเทียม
      3.2.3 ผักชนิดใบ เช่น ชะอม สะเดา ผักกะเฉด ผักชี ยอดกระถิน ใบชะพลู บร๊อคโคลี ผักบุ้งไทย ผักขม ยอดแค
3.3 เครื่องเทศเพิ่มรสชาติอาหารต่าง
      เช่น น้ำส้มสายชู มะนาว พริกไทย พริกสด มัสตาด และเครื่องดื่มประเภทชา-กาแฟ ไม่ใส่น้ำตาลหรือนมข้น
      การรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ยากลำบากเพราะหลายเรื่องเป็นสิ่งที่คนปกติกระทำเป็นกิจวัตรประจำวันเพียงแต่เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยต้องเพิ่มความสนใจและความระมัดระวังเป็นพิเศษในบางเรื่อง เช่น การจัดหรือกำหนดอาหารผลของการดูแลรักษาตนเองดีสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพที่ดี และป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนและที่สำคัญ คือ ทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดีมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น