Skip to content
ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่


โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสสามารถติดต่อกันได้ง่ายโดยการหายใจเอาเชื้อโรคซึ่งฟุ้งกระจายอยู่ในเสมหะน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยทีไอ จามออกมา นอกจากนี้เชื้อยังอาจติดอยู่กับมือภาชนะหรือของใช้ น้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย โรคนี้สามารถแพร่กระจายอย่างกว้างขวางได้ในที่ที่มีคนอยู่ร่วมกันมากๆ และอากาศไม่ถ่ายเทอาการของไข้หวัดจะเริ่มด้วยการมีไข้ ปวดศรีษะปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อน้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บหรือแสบคอ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่นั้นจะมีอาการรุนแรงกว่า คือ ตัวร้อนจัดหนาวสั่น ปวดศรีษะและเวียนศรีษะมาก ปวดตามกระดูก กล้ามเนื้อและมักมีอาการคลื่นไส้ตามด้วย ถ้าพักผ่อนเพียงพอ และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องผู้ป่วยจะหายจากโรคนี้ได้ภายใน 2 – 7 วัน บางรายอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคปอดบวม หลอดลมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ

ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยการรับประทานอาหารที่มีประดยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาร่างกายให้อบอุ่นและไม่ใส่เสื้อผ้าที่เปียกชื้น พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่แออัด เช่น ในที่ชุมชน โรงมหรสพ บนรถโดยสารจำนวนมาก โดยเฉพาะในขณะที่มีการระบาดของไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือคลุกคลีกับผู้ป่วยร่วมทั้งไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย เช่น จาน ช้อนส้อมแก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ถ้ามีผู้ป่วยในบ้านควรแนะนำให้ปิดปากด้วยผ้า หรือกระดาษเช็ดหน้าเวลาไอ หรือจาม และล้างมือบ่อยๆ เมื่อเริ่มมีอาการไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ควรนอนพักผ่อนมากๆและดื่มน้ำบ่อยๆ ถ้าตัวร้อนมากควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัว หรือกินยาลดไข้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น คือ มีอาการไอมากขึ้นหรือมีไข้สูงนานเกิน 2 – 3 วัน ควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ถ้าให้ใจเร็วหอบ หรือหายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม หรือหายใจมีเสียงดังควรรีบไปหาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อรับการตรวจรักษา เพราะอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวมซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
โรคหลอดลมอักเสบ


หลอดลมอักเสบในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อยมักพบร่วมกับการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนอื่นด้วย เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ หรือปอดอักเสบสาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ได้แก่ อะดีโนไวรัส ไรโนไวรัส ฟลูไวรัส บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มัยโคพลาสมา หรือ คลามัยเดีย ส่วนน้อยที่เกิดจากการแพ้ หรือการระคายเคืองต่อสารบางอย่างที่สูดดม จนทำให้หลอดลมเกิดการอักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการไอ และมีเสมหะอาการไอถือเป็นอาการที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ เสมหะอาจจะมีสีเหลือง หรือเขียว ผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ ถ้ามีไข้มักจะไม่มีไข้สูง บางรายจะมีอาการหายใจลำบาก หรือหายใจเสียงดังหวีด ผู้ป่วยที่เป็นหวัดเริ่มด้วยอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหลแสบคอ เมื่อโรคดำเนินต่อไปรู้สึกแน่นหน้าอก มีเสมหะในคอ และเริ่มเกิดอาการไอ แสดงว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบ รวมทั้งผู้ที่เป็นหวัดแล้วมีอาการไอและมีเสมหะเรื้อรังนานเกิน 7 วันต้องนึกถึงโรคหลอดลมอักเสบด้วย

โรคหลอดลมอักเสบมักจะหายได้เองใน 7 – 10 วัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งในกรณีผู้ป่วยเด็กไม่นิยมให้ยาแก้ไอเพราะอาจทำให้เสมหะค้างในหลอดลมจนกลายเป็นโรคอื้นๆที่รุนแรงอย่าง เช่น โรคปอดอักเสบ หรอ หลอดลมโป่งพองได้ ให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นมากๆ หากตรวจพบว่าโรคหลอดลมอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ
โรคปอดบวม


โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบอาจเป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อปอดบวมโดยตรง ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อซึ่งฟุ้งกระจายอยู่ในอาการ เชื้อเหล่านี้อยู่ในละอองเสมหะน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่ไอจามออกมา หรือติดต่อกันโดยใช้ภาชนะ และสิ่งของร่วมกับผู้ป่วยมีระยะพักตัวของโรค 1 – 3 วันโรคนี้เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจที่มีความรุนแรง ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาทันท่วงที และเป็นสาเหตุการตายันดับหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในเด็ก อายุต่ำกว่า 5 ปีโดยเฉพาะเด็กแรกเกิด เช่น โรคหัวใจ โรคปอดบวม มักเกิดตามหลังโรคหวัด 2 – 3 วันโดยจะมีไข้สูงไอมาก หายใจหอบมักจะหายใจเร็ว ถ้าเป็นมากมักหายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน ถ้าป่วยหนักมักจะซึม ไม่ดื่มนมดื่มน้ำถ้าไข้สูงอาจชักบางรายมีหายใจเสียงดัง ปาก เล็บมือเท้าเขียว และกระสับกระส่าย บางรายอาจไม่ชัดเจน อาจไม่ไอ แต่มีอาการซึม ดื่มนม หรือน้ำน้อยลงถ้ามีอาการเช่นนี้ ต้องพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ถ้ารักษาช้า ฟรือได้รับยาไม่ถูกต้อง อาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น หนองในช่องเยื้อหุ้มปอด ปอดแฟบ ฝ้าในปอด เป็นต้น

เหมือนกับการป้องกันไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ควรให้เด็กหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย และควรได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่และให้อาหารเสริมอย่างเพียงพอ รวมทั้งให้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนด
โรคติดเชื้อ ไอพี ดี


โรคติดเชื้อ ไอ พี ดี คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสชนิดแพร่กระจายที่อันตรายมาก ตัวเชื้อนิวโมคอคคัสมักพบอาศัยอยู่ในโพรงจมูกหรือคอคนทั่วไป ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดๆ(เป็นพาหะ) แต่แพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ โดยการไอ จามสัมผัสสารคัดหลั่ง โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำอาจติดเชื้อโรคได้ง่าย โรคติดเชื้อ ไอ พี ดีที่มีอาการรุนแรง คือ เยื้อหุ้มสมองอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือดอาการสำคัญที่พบได้ คือ ติดเชื้อหูน้ำหนวกที่ลุกลามเข้าสู้สมอง ปอดบวมหรือปอดอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดโลหิตเป็นพิษหรือเชื้ออาจกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจเสียชีวิตหรือพิการทางสมอง

การรักษาโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสและไอพีดี จะใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มแพนนิซิลลิน หรือเศฟาโลสปอรินส์ ปัจจุบันพบว่ามีการดื้อยามากขึ้นโดยส่วนใหญ่โรคนี้สามารถรักษาได้ผลดีถ้ามาพบแพทย์ และได้เริ่มให้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคนี้แล้วชนิดแรกเป็นวัคซีนดั้งเดิมชนิดโพลีแซคคาไรด์ประกอบด้วยเชื้อนิวโมคอคัสวัสซีน จำนวน 23 สายพันธ์ุ วัคซีนนี้ไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี และประสิมธิภาพจำกัด จึงใช้เฉพาะกับผู้มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคนี้ ชนิดที่สองเป็นคอนจูเกตวัคซีนซึ่งเพิ่งจะมีจำหน่ายเมื่อไม่นานมานี้ ประกอบด้วยเชื้อนิวโมคอคคัส จำนวน 10 หรือ 13 สายพันธ์ุพ่วง กับโปรตีนทำให้สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีซึ่งควบคลุมเชื้อไอพีดีจากเชื้อสายพันธุ์ในวัคซีนได้ ร้อยละ 97.3 (แต่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพต่อสายพันธุ์นอกวัคซีน) ป้องกันโรคปอดอักเสบได้ ป้องกันโรคหูชั้นกลางอักเสบได้บ้าง ในต่างประเทศแนะนำในวัคซีนนี้ในเด็กปกติ อายุ 2,4,6 เดือน และฉีดกระตุ้นตอนอายุ 12 – 15 เดือน